DC 9 ประกาศนโยบาย No Gift policy
จังหวัดชลบุรี วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 นำทีมเจ้าหน้าที่ DIPROM CENTER 9 หรือ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ประกาศ นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยยึดแนวทางการปฏิบัติตนด้วยความโปร่งใสเป็นธรรม “งดรับ งดให้ ของขวัญของกำนัลทุกชนิด” ในขณะ/ก่อน/หลังปฏิบัติหน้าที่ ที่จะส่งผลให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งต้องไม่ยินยอม รู้เห็นเป็นใจ หรือสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับ รับของขวัญของกำนัล ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลที่ไม่ใช่ญาติ โดยให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด สื่อประชาสาัมพันธ์.-
19 ก.พ. 2568
DC 9 ประกาศนโยบาย No Gift policy
จังหวัดชลบุรี วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 นำทีมเจ้าหน้าที่ DIPROM CENTER 9 หรือ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ประกาศนโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อพัฒนาระบบราชการไทยให้โปร่งใสไร้ผลประโยชน์ สร้างค่านิยมและทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติราชการ ด้วยความจริงใจ ความถูกต้อง ไม่หวังสิ่งตอบแทน ให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ
05 มี.ค. 2567
DC9 รับทราบและยึดถือปฏิบัติ DO's และ DON'Ts ตามข้อกำหนดจริยธรรม DIPROM
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเห็นชอบมติที่ประชุมคณะกรรมการจริยธรรม กสอ. ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 เรื่อง หลักการพฤติกรรมที่ควรทำ (DO's) และพฤติกรรมที่ไม่ควรทำ (DON'Ts) ตามข้อกำหนดจริยธรรม และคำขวัญจริยธรรม กสอ. รายละเอียด ดังนี้
30 ส.ค 2566
DC9 รับนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
บุคลากรศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับทราบประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม โดยมีแนวทางปฏิบัติตามประกาศกระทรวงฯ รายละเอียดดังเอกสารแนบนี้
07 ส.ค 2566
DC9 ประชาสัมพันธ์ตัวอย่างการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริต
หลักจากตัวแทนเจ้าหน้าที่ ศภ.9 กสอ. (DC9) ได้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ด้วยการเข้าศึกษาเรียนรู้และทำแบบทดสอบจากการเรียนรู้และได้รับใบประกาศนียบัตรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จากสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในการนี้ ศภ.9 กสอ. ขอประชาสัมพันธ์องค์ความรู้และเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ของตัวอย่างการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริตและประพฤติชอบที่ได้รับโทษทางกฎหมายให้กับบุคลากรภายในหน่วยงานและผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้รับทราบองค์ความรู้ดังกล่าว ตัวอย่างที่ 1 ความผิดจากการใช้ของหลวง ตัวอย่างที่ 2 การตรวจรับพัสดุโดยที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ตัวอย่างที่ 3 การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ ตัวอย่างที่ 4 การโอนย้ายตำแหน่งราชการโดยมิชอบ
10 ก.ค. 2566
DC9 ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
ตามที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้กำหนดแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกรมส่งเสริมอุตสหากรรม โดยแนวทางการพัฒนาที่ 1 เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการป้องกันและต่อต้านการทุจริต สร้างจิตสำนึก ปรับฐานความคิด ปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริต จึงกำหนดให้มีกิจกรรมการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) แก่บุคลากรของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ศภ.9 กสอ. จึงได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าวให้กับบุคลากรและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ ผ่าน บอร์ดประชาสัมพันธ์ภายในลิฟต์โดยสารและเว็บไซต์ของ ศภ.9 กสอ. ดังนี้ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment) หรือการประเมิน ITA นั้น ในปัจจุบันถือเป็นมาตรการที่สำคัญในการพัฒนาภาครัฐในด้านคุณธรรม ความโปร่งใส อันจะนำไปสู่การป้องกันการทุจริตในภาครัฐได้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐแต่ละหน่วยงานได้รับทราบสถานะของตนเองในด้านคุณธรรม ความโปร่งใส ตลอดจนใช้ให้เกิดประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงพัฒนาตนเอง นอกจากนี้ ยังช่วยให้หน่วยงานในระดับกระทรวง ระดับจังหวัด หรือหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติราชการ สามารถนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการบริหารงานภาครัฐภายใต้การกำกับดูแลได้ โดยที่ผ่านมาการประเมิน ITA ก็ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงให้เห็นได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม การประเมิน ITA นี้มีความสำคัญระดับนโยบาย กำหนดเป็นเป้าหมายตามแผนงานระดับประเทศ โดยแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561 - 2580) ได้กำหนดให้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของแผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยในระยะที่ 2 ได้กำหดให้ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 หน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐผ่านเกณฑ์ (85 คะแนนขึ้นไป) จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 การประเมิน ITA ถือเป็นเครื่องมือที่หน่วยงานภาครัฐได้สำรวจและประเมินตนเองเพื่อให้ได้รับทราบข้อมูล อันส่งผลให้เกิดความตระหนักและปรับปรุงการบริหารงานและการกำกับดูแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ ต่อประชาชน และให้ความสำคัญกับด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กรตนเองมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การประเมิน ITA ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของหน่วยงานภาครัฐในทางปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตื่นตัวและหันมาให้ความสนใจต่อการพัฒนาแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองให้ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น ที่สำคัญคือส่งผลให้หน่วยงานมีการจัดการข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบระเบียบและเตรียมความพร้อมในการเปิดเผย ข้อมูลต่อสาธารณะให้ได้รับทราบและส่งเสริมให้เกิดการตรวจสอบอีกด้วย นอกจากนี้ ในด้านของประชาชนและสังคมไทยแล้ว การประเมิน ITA ถือเป็นเครื่องมือที่ทุกคนจะได้มีส่วนร่วม ในการสะท้อนความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่พัฒนาการบริหารงานภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้รับบริการจากภาครัฐที่ดีขึ้น และยังส่งผลให้ประชาชนและสาธารณชนมีโอกาสได้มีส่วนร่วมกำกับติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ ได้มากขึ้นอีกด้วย
16 มิ.ย. 2566
DC9 ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น DIPROM Zero Tolerance
ตามที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แนวทางการพัฒนาที่ 1 เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการป้องกันและต่อต้านการทุจริต สร้างจิตสำนึก ปรับฐานความคิด ปลูกฝังความซื่่อสัตย์สุจริต กำหนดให้จัดทำประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและต่อต้านการทุจริต DIPROM Zero Tolerance ประกอบกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อแสดงเจตนารมณ์มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาการทุจริตอย่างต่อเนื่องและปลุกกระแสสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ภายใต้แนวคิด "Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต" เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเฝ้าระวังและสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้นในสังคม และสร้างจิตสำนักและค่านิยมให้ละอายต่อการทุจริต นั้น ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 หรือ DIPROM Center 9 ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สร้างความโปร่งใสภายในหน่วยงาน สร้างค่านิยมในการปฏิบัติหน้าที่ และพึงปฏิบัติให้เป็นวัฒนธรรมสุจริตของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สร้างค่านิยมการต่อต้านการทุจริตและจิตสำนึกอันดีงามในด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้กับเจ้าหน้าที่จึงได้ประชาสัมพันธ์ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่องเจตนารมณ์การป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น DIPROM Zero Tolerance ผ่านช่องทางบอร์ดประชาสัมพันธ์และเว็บไซต์ของหน่วยงาน
12 มิ.ย. 2566
DIPROM Center 9 เข้าร่วมศึกษา e-Learning เกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์
นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 หรือ DIPROM Center 9 (DC9) มอบหมายให้ตัวแทนเจ้าหน้าที่ DC9 จากกลุ่มงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรม จริยธรรมฯ เข้าร่วมศึกษาบทเรียน e-Learning ในกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ซึ่งจัดทำโดยสำนักพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาล สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้สนใจเข้ามาศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ การกระทำที่มีลักษณะขัดกันแห่งผลประโยชน์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ กรณีศึกษาและแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สามารถแยกแยะการขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่เป็นการขัดแห่งผลประโยชน์อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการทุจริต ในการนี้มีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรมระหว่างวันที่ 28 - 31 มีนาคม 2566 จำนวน 6 ท่าน พร้อมทดสอบความรู้ความเข้าใจและรับวุฒิบัตร (E-Certificate) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ DC9 ได้มีความรู้ความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
31 มี.ค. 2566
DIPROM Center9 ประชาสัมพันธ์นโยบาย No Gift Policy
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ เวลา 14.00 น. คณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 หรือ DIPROM Center9 (DC9) ดำเนินการจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับบุคคลภายนอกเกี่ยวกับนโยบาย "การไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)" โดยประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้ 1. บอร์ดประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน 2. ลิฟต์โดยสารภายในอาคารอำนวยการ ศภ.9 กสอ. 3. เว็บไซต์หน่วยงาน https://ipc9.dip.go.th/th/news/category/2023-02-23-11-34-34
28 ก.พ. 2566
DIPROM Center9 รับมอบนโยบาย No Gift Policy ร่วมสร้างจิตสำนึกบุคลากรในองค์กร
จังหวัดชลบุรี 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.00 น. นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 หรือ DIPROM Center 9 เป็นประธานในการประชุมประจำเดือนกุมภาพันธ์ของ DIPROM Center 9 และประกาศรับมอบนโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร่วมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ DIPROM Center 9 ณ ห้องประชุม1 ชั้น7 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 หรือ DIPROM Center 9 นโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ เป็นการสร้างจิตสำนึก ค่านิยม วัฒนธรรมตามหลักธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ให้กับข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ให้มีทัศนคติในการปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ ความถูกต้อง ไม่หวังสิ่งตอบแทน ทั้งจากการปฏิบัติหน้าที่ และการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ที่จะส่งผลให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยงดรับ - ให้ ของขวัญและของกำนัลทุกชนิดในโอกาสต่าง ๆ และให้เจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดทุกกอง เผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ No Gift Policy ตามจุดติดต่อรับบริการของหน่วยงานเพื่อให้ผู้รับบริการ ตลอดจนบุคคลภายนอกได้ทราบถึงนโยบาย ที่แสดงออกถึงเจตนารมณ์และความตั้งใจ ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส มีทัศนคติในการปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ ไม่หวังสิ่งตอบแทน และยึดหลักธรรมาภิบาล ประกาศนโยบายการไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กสอ. คู่มือการประกาศนโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ท. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2544 ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ. 2563
27 ก.พ. 2566