โทรศัพท์ 1358

DIPROM CENTER 9 ลงพื้นที่กำกับติดตามการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
DIPROM CENTER 9 ลงพื้นที่กำกับติดตามการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
DIPROM CENTER 9 ลงพื้นที่กำกับติดตามการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด 🗓️วันที่ 25-27 มิถุนายน 2568 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 มอบหมายให้นางสาวปุญชรัสมิ์ ศุภกำเนิด นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นางสาวแคทลียา ศรีสวัสดิ์ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ และนางฐิติมา ทองเจริญ นักวิชาชีพอุตสาหกรรมลงพื้นที่กำกับติดตามการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ดังนี้ 1. โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 7 สถานประกอบการ ได้แก่ 1) บริษัท มาซามุเนะ จำกัด 2) บริษัท เค.เอ็ม.พี. ไบโอเทค จำกัด 3) บริษัท ต้นกล้า อุตสาหการ จำกัด 4) บริษัท ซิสเตอร์ลี่ จิวเวลรี่ จำกัด 5) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้นตำรับ ฟรุ๊ตแฟคตอรี่ 6)The Craft: บางสระเก้า 7) บริษัท เคพี เพลเล็ท จำกัด 2. โครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 2 สถานประกอบการ ได้แก่ 1) บริษัท เอ็นทีที ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด 2) บริษัท แกรนด์ฟูดโปรเซสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
30 มิ.ย. 2568
DIPROM CENTER 9 ยกระดับ “ธุรกิจอาหารพื้นถิ่นตะวันออก” สู่ “อุตสาหกรรมอาหารภาคตะวันออกแปรรูป” และ “ อาหารภาคตะวันออกแห่งอนาคต”
DIPROM CENTER 9 ยกระดับ “ธุรกิจอาหารพื้นถิ่นตะวันออก” สู่ “อุตสาหกรรมอาหารภาคตะวันออกแปรรูป” และ “ อาหารภาคตะวันออกแห่งอนาคต”
DIPROM CENTER 9 ยกระดับ “ธุรกิจอาหารพื้นถิ่นตะวันออก” สู่ “อุตสาหกรรมอาหารภาคตะวันออกแปรรูป” และ “ อาหารภาคตะวันออกแห่งอนาคต” 📍ณ โรงแรม เจปาร์ค จังหวัดชลบุรี 📆 วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00 น. 🔊 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 9) ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาเผยแพร่ผลสำเร็จของกิจกรรม และมอบวุฒิบัตรให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมาตรฐานอาหารชุมชน (อาหารพื้นถิ่นตะวันออก) ภายใต้โครงการศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีว่าที่ร้อยตรีวิชญ์ ขัติกุล นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชำนาญการ เป็นผู้กล่าวรายงานการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ทั้งนี้ ศภ.9 กสอ. ได้จ้างอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร เป็นผู้รับจ้างดำเนินกิจกรรมฯ โดยภายในงานสัมมนาเผยแพร่ผลสำเร็จของกิจกรรม ผอ.ศภ.9 กสอ. ได้มอบวุฒิบัตรให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมจำนวน 4 กลุ่ม และเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ ตามบูธต่างๆ ของกลุ่มวิสาหกิจ อีกทั้งยังมีกิจกรรมสัมมนา “soft power อาหารพื้นถิ่นตะวันออก ส่งเมนูสู่มาตรฐาน” และเสวนา เรื่อง soft power อาหารภาคตะวันออก ยกระดับมาตรฐานอาหารไทย โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ คุณภูสิษฐ์ จาตุรงคกุล และคุณฐิติพันธุ์ จงยิ่งเจริญ ร่วมกับตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์ชุมชน สร้างความเข้มแข็งจากเศรษฐกิจฐานราก และสร้างศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนให้เติบโตในระดับสากล
20 มิ.ย. 2568
DIPROM CENTER 9 ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดชลบุรี ครั้ง 5/2568 (ประจำเดือนพฤษภาคม 2568)
DIPROM CENTER 9 ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดชลบุรี ครั้ง 5/2568 (ประจำเดือนพฤษภาคม 2568)
DIPROM CENTER 9 ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดชลบุรี ครั้ง 5/2568 (ประจำเดือนพฤษภาคม 2568) จังหวัดชลบุรี วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม 2568 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 มอบหมายให้นางนุชรี ผลบุญ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 เข้าร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดชลบุรี ครั้งที่ 5/2568 ประจำเดือนพฤษภาคม 2568 กับหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานส่วนกลาง หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเมืองพัทยาและนายกเทศมนตรี จังหวัดชลบุรี ณ ห้องประชุมชลบุรี ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดชลบุรี โดยมีนายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเป็นประธาน การประชุมครั้งนี้มีวาระที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมและประชาชนในพื้นที่จังหวัดชลบุรีทราบผ่านระบบ Facebook Live นอกจากนี้มีวาระการประชุมที่สำคัญ อาทิ กำหนดการจัดงานพิธี/งานสำคัญ ห้วงเดือนมิถุนายน 2568 ได้แก่ การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2568 เป็นต้น ตลอดจนการรายงานสถานการณ์โควิด-19 รายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่ สรุปผลการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในจังหวัด สรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณและภาวะเศรษฐกิจการคลังของจังหวัด และการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2568 รอบตัดสิน ในโอกาสนี้ ก่อนการประชุมท่านประธานมอบประกาศนียบัตร/ประกาศเกียรติคุณ/โล่รางวัล อาทิ มอบทุนอุปการะเด็กชนบทของกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2568 มอบโล่รางวัลประกาศเกียรติคุณและเกียรติบัตรในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี ประกาศนียบัตรเกษตรกรบุคคลทางการเกษตรและสถาบันเกษตรกรดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2568 พร้อมกันนี้ท่านประธานขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมตลอดจนประชาชนที่รับชมผ่านระบบ Facebook Live ดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังการป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่และโรคโควิด-19 ที่เริ่มกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในช่วงฤดูฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องนี้
30 พ.ค. 2568
DIPROM CENTER 9 ร่วมปลูกต้นไม้ภายใต้กิจกรรมโครงการวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2568
DIPROM CENTER 9 ร่วมปลูกต้นไม้ภายใต้กิจกรรมโครงการวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2568
DIPROM CENTER 9 ร่วมปลูกต้นไม้ภายใต้กิจกรรมโครงการวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2568 จังหวัดชลบุรี วันพุธที่ 28 พฤษภาคม 2568 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 มอบหมายให้นางนุชรี ผลบุญ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค นำเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 หรือ DIPROM CENTER 9 ร่วมปลูกต้นไม้ ภายใต้โครงการวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2568 ณ บริเวณสวนป่าคลองตะเคียน-ท่าบุญมี-บ่อทอง พื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ที่จัดโดยสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 9 (ชลบุรี) กิจกรรมดังกล่าวมีการดำเนินการเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการปลูกต้นไม้เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ และปลูกจิตสำนึกให้มีความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ
29 พ.ค. 2568
DC9 ร่วมงานเปิดศูนย์การเรียนรู้ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ แห่งที่ 7
DC9 ร่วมงานเปิดศูนย์การเรียนรู้ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ แห่งที่ 7
DC9 ร่วมงานเปิดศูนย์การเรียนรู้ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ แห่งที่ 7 จังหวัดจันทบุรี วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00 น. 🔊 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 มอบหมายให้คณะเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน ว่าที่ร้อยตรีวิชญ์ ขัติกุล นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชำนาญการ และนางสาวสิเรียม นุ่งอาหลี นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ เข้าร่วมพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ แห่งที่ 7 ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรีอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งดำเนินกิจการผลิตและแปรรูปทุเรียนทอดกรอบ ภายใต้แบรนด์ "ป้าแกลบ" โดยมีนายสมพร กาญจน์นิรันดร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานกล่าวเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ และกล่าวแสดงความยินดีทั้งนี้ มีนายนันทวัฒน์ ศรีวรัตน์อัชกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวรายงาน และนางวรรณี บุญสวัสดิ์ "ป้าแกลบ" ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรีอำเภอท่าใหม่ กล่าวความสำเร็จและขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วม รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจในชุมชนให้เติบโตขึ้น รวมถึงการเข้าร่วมโครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ในครั้งนี้ 🖌️ กิจการทุเรียนทอด “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรีอำเภอท่าใหม่” แห่งนี้ โตโยต้าได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาธุรกิจ ด้วยการถ่ายทอดแนวคิด TSI way หรือวิถีชุมชนพัฒน์ ผสมผสานร่วมกับแนวคิดภูมิปัญญาชุมชน ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจของวิสาหกิจฯ ให้มีประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้น สามารถพัฒนาธุรกิจของตัวเองได้ใน 5 ด้านหลักๆ เช่น ด้านการผลิตภาพ คุณภาพ การส่งมอบสินค้าที่ตรงเวลา การจัดการสินค้าคงคลัง การลดต้นทุนในกระบวนการ เพื่อมุ่งหวังให้วิสาหกิจฯ สามารถนำความรู้ไปต่อยอดพัฒนาธุรกิจให้เติมโตอย่างยั่งยืนด้วยตนเอง
23 พ.ค. 2568
DC9 ลงพื้นที่ชี้แจงรายละเอียดโครงการยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน และโครงการการสร้างและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย
DC9 ลงพื้นที่ชี้แจงรายละเอียดโครงการยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน และโครงการการสร้างและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย
DC9 ลงพื้นที่ชี้แจงรายละเอียดโครงการยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน และโครงการการสร้างและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย วันที่ 21 พฤษภาคม 2568 เจ้าหน้าที่ กช.ศภ.9 กสอ. ลงพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ผู้ประกอบการในพื้นที่ให้บริการ ผ่านการขอรับบริการ Thai-IDC พร้อมประชาสัมพันธ์โครงการการสร้างและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2568 ระยะ 2 จำนวน 3 สถานประกอบการ ได้แก่ 1. กิจการ ม้อยเมืองมัดย้อมแฟชั่น ตำบลพูลตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 2. กิจการ วราศิริแฮนด์เมด ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 3. กิจการ มารีน เพิร์ล ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
23 พ.ค. 2568
DIPROM CENTER 9 ลงพื้นที่กำกับติดตามการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดระยอง
DIPROM CENTER 9 ลงพื้นที่กำกับติดตามการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดระยอง
DIPROM CENTER 9 ลงพื้นที่กำกับติดตามการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดระยอง วันที่ 14-16 พฤษภาคม 2568 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 มอบหมายให้นางสาวปุญชรัสมิ์ ศุภกำเนิด นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นางสาวเรณู แซ่เตียว นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ และนางฐิติมา ทองเจริญ นักวิชาชีพอุตสาหกรรมลงพื้นที่กำกับติดตามการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดระยอง ดังนี้ 1. กิจกรรมพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล ที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่เป้าหมาย ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 4 สถานประกอบการ ได้แก่ 1.บริษัท เท็กซ์โฟกัส จำกัด 2.บริษัท วินเนอร์ กู๊ด อินเตอร์ จำกัด 3.บริษัท เกรทโฟม โปรดักส์ จำกัด 4.บริษัท ฟิลพาร์ท เอ็นจิเนียริ่ง (1999) จำกัด 2. กิจกรรมพัฒนาช่องทางการตลาดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI and Digital Online Marketing) ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล ปีงบประมาณ 2568 จำนวน 6 สถานประกอบการ ได้แก่ 1.บริษัท ศรีสวัสดิ์ การผ้าใบ เอ็กตร้า จำกัด 2.บริษัท ดิลิเชียส สตอรี่ จำกัด 3.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ออแกนิกเอฟแอนด์ดี 4. บริษัท บริษัท ปลาสลิด พอดีคำ จำกัด 5.บริษัท อินฟินิท คาเคา จำกัด 6.ร้านดั่งหวัง 3. กิจกรรมยกระดับสถานประกอบการด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล “เปลี่ยน” ให้ดีพร้อม ภายใต้โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 1 สถานประกอบการ คือ บริษัท อิโตะ ไทย ออโต้ บอดี เวิร์ค จำกัด
22 พ.ค. 2568
DC 9 เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานภายใต้กิจกรรมพัฒนาสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
DC 9 เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานภายใต้กิจกรรมพัฒนาสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
📣DC 9 เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน 🗓️วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2568 ✅ นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (Diprom Center 9 : DC9) มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม (กธ.ศภ.9 กสอ.) เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานสถานประกอบต้นแบบ ซึ่งมีแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ ภายใต้กิจกรรมพัฒนาสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 🏭 โดยกิจกรรมในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าว จำนวน 2 กิจการ ตลอดจนคณะเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมกว่า 12 คน เข้าเยี่ยมชมศูนย์วิจัยและฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรม โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง จ.ระยอง
22 พ.ค. 2568
เรียนรู้จากองค์กรต้นแบบ สู่การยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตสู่อุตสาหกรรมสีเขียว
เรียนรู้จากองค์กรต้นแบบ สู่การยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตสู่อุตสาหกรรมสีเขียว
🌱🌿เรียนรู้จากองค์กรต้นแบบ สู่การยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตสู่อุตสาหกรรมสีเขียว 📆 วันที่ 9 - 10 พฤษภาคม 2568 จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครราชสีมา ❇️ นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 9 มอบหมายให้ นางสาวภารดี เสมอกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม นางสาวเรณู แซ่เตียว นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ นางสาวอินทิรา วิเชียรเทียบ นักวิชาการอุตสาหกรรม และนางฐิติมา ทองเจริญ นักวิชาการอุตสาหกรรม กำกับติดตามการดำเนินงานของผู้รับจ้าง กิจกรรมการพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตสู่อุตสาหกรรมผลิตภาพสีเขียว (Green Productivity) ภายใต้โครงการยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยนำสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 2 กิจการ ได้แก่ บริษัท ยูนิแลมป์ จำกัด และบริษัท ทรัพย์เจริญรุ่งเรืองสตีล จำกัด เพื่อศึกษาเรียนรู้แนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการพลังงาน ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีองค์กรต้นแบบ ดังนี้ 1️⃣ บริษัท ฟูจิคุระ คอนเนกต์ (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดปทุมธานี (ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์) - ส่งเสริมให้มีการนำระบบ IoT และ AI มาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลในสายการผลิต - วางแผนการพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้งานและวิเคราะห์ข้อมูลจากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ - ประยุกต์ใช้แนวคิด Smart Factory เพื่อยกระดับมาตรฐานองค์กรในระยะยาว 2️⃣ บริษัท โกร อิโควิลเลจเขาใหญ่ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด จังหวัดนครราชสีมา - พัฒนาโมเดลวิสาหกิจเพื่อสังคมที่เชื่อมโยงชุมชนกับธุรกิจเพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกัน - ประยุกต์ใช้ BCG Model ในการจัดการฟาร์ม แปรรูปผลิตภัณฑ์ หรือพัฒนาธุรกิจท้องถิ่น - สร้างพื้นที่เรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ฟาร์มต้นแบบหรือศูนย์เรียนรู้เกษตรยั่งยืน - ส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสุขภาพที่มีจุดเด่นด้านธรรมชาติและวิถีชีวิตยั่งยืน 3️⃣ บริษัท พี.ซี.เอส. แมชีน กรุ๊ปโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) จังหวัดนครราชสีมา - นำแนวคิด BCG มาปรับใช้กับกระบวนการทำงาน เช่น การติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคาโรงงาน ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนได้ 9.72 เมกกะวัต/ชั่วโมง และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 5,140.7 Ton/Co2 - การนำเทคโนโลยี IoT, AI และ Big Data มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 4️⃣ บริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด จังหวัดนครราชสีมา - ส่งเสริมการจัดการของเสียในองค์กรอย่างเป็นระบบตามแนวคิด Circular Economy - สนับสนุนการใช้วัตถุดิบอินทรีย์และกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม - พัฒนาโมเดลธุรกิจที่ผสมผสานแนวคิด BCG เพื่อสร้างความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่นการติดตั้ง Solar Rooftop บนอาคารผลิต สามารถลดการใข้พลังงานไฟฟ้าลงได้ 39 % - ยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในองค์กรในการขับเคลื่อนสู่ “อุตสาหกรรมสีเขียว” ปัจจุบันได้รับ Green Industry ระดับ 5 การศึกษาดูงานครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ทั้งสิ้น 20 คน
14 พ.ค. 2568
DIPROM CENTER 9 ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 29 เมษายน 2568
DIPROM CENTER 9 ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 29 เมษายน 2568
DIPROM CENTER 9 ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 29 เมษายน 2568 จังหวัดชลบุรี: วันอังคารที่ 29 เมษายน 2568 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 มอบหมายให้นางนุชรี ผลบุญ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค นำทีมเจ้าหน้าที่กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค นางธิติญา โพธิ์งาม, นายธานี นิวัฒนากุล, นางสาวรัตนกร ยุติธรรม เป็นผู้เเทน DIPROM CENTER 9 หรือศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 29 เมษายน 2568 ณ วัดอุทยานนที ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยมีนายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดชลบุรี เข้าร่วมพิธีดังกล่าว
29 เม.ย. 2568