โทรศัพท์ 1358

DC 9 ประกาศนโยบาย No Gift policy
DC 9 ประกาศนโยบาย No Gift policy
จังหวัดชลบุรี วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 นำทีมเจ้าหน้าที่ DIPROM CENTER 9 หรือ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ประกาศ นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยยึดแนวทางการปฏิบัติตนด้วยความโปร่งใสเป็นธรรม “งดรับ งดให้ ของขวัญของกำนัลทุกชนิด” ในขณะ/ก่อน/หลังปฏิบัติหน้าที่ ที่จะส่งผลให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งต้องไม่ยินยอม รู้เห็นเป็นใจ หรือสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับ รับของขวัญของกำนัล ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลที่ไม่ใช่ญาติ โดยให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด สื่อประชาสาัมพันธ์.-
19 ก.พ. 2568
DC 9 ประกาศนโยบาย No Gift policy
DC 9 ประกาศนโยบาย No Gift policy
จังหวัดชลบุรี วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 นำทีมเจ้าหน้าที่ DIPROM CENTER 9 หรือ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ประกาศนโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อพัฒนาระบบราชการไทยให้โปร่งใสไร้ผลประโยชน์ สร้างค่านิยมและทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติราชการ ด้วยความจริงใจ ความถูกต้อง ไม่หวังสิ่งตอบแทน ให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ
05 มี.ค. 2567
DC9 รับทราบและยึดถือปฏิบัติ DO's และ DON'Ts ตามข้อกำหนดจริยธรรม  DIPROM
DC9 รับทราบและยึดถือปฏิบัติ DO's และ DON'Ts ตามข้อกำหนดจริยธรรม DIPROM
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเห็นชอบมติที่ประชุมคณะกรรมการจริยธรรม กสอ. ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 เรื่อง หลักการพฤติกรรมที่ควรทำ (DO's) และพฤติกรรมที่ไม่ควรทำ (DON'Ts) ตามข้อกำหนดจริยธรรม และคำขวัญจริยธรรม กสอ. รายละเอียด ดังนี้
30 ส.ค 2566
DC9 รับนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม  เรื่องการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
DC9 รับนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
บุคลากรศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับทราบประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม โดยมีแนวทางปฏิบัติตามประกาศกระทรวงฯ รายละเอียดดังเอกสารแนบนี้
07 ส.ค 2566
DC9 ประชาสัมพันธ์ตัวอย่างการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริต
DC9 ประชาสัมพันธ์ตัวอย่างการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริต
หลักจากตัวแทนเจ้าหน้าที่ ศภ.9 กสอ. (DC9) ได้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ด้วยการเข้าศึกษาเรียนรู้และทำแบบทดสอบจากการเรียนรู้และได้รับใบประกาศนียบัตรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จากสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในการนี้ ศภ.9 กสอ. ขอประชาสัมพันธ์องค์ความรู้และเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ของตัวอย่างการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริตและประพฤติชอบที่ได้รับโทษทางกฎหมายให้กับบุคลากรภายในหน่วยงานและผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้รับทราบองค์ความรู้ดังกล่าว ตัวอย่างที่ 1 ความผิดจากการใช้ของหลวง ตัวอย่างที่ 2 การตรวจรับพัสดุโดยที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ตัวอย่างที่ 3 การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ ตัวอย่างที่ 4 การโอนย้ายตำแหน่งราชการโดยมิชอบ
10 ก.ค. 2566
DC9 ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
DC9 ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
ตามที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้กำหนดแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกรมส่งเสริมอุตสหากรรม โดยแนวทางการพัฒนาที่ 1 เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการป้องกันและต่อต้านการทุจริต สร้างจิตสำนึก ปรับฐานความคิด ปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริต จึงกำหนดให้มีกิจกรรมการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) แก่บุคลากรของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ศภ.9 กสอ. จึงได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าวให้กับบุคลากรและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ ผ่าน บอร์ดประชาสัมพันธ์ภายในลิฟต์โดยสารและเว็บไซต์ของ ศภ.9 กสอ. ดังนี้ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment) หรือการประเมิน ITA นั้น ในปัจจุบันถือเป็นมาตรการที่สำคัญในการพัฒนาภาครัฐในด้านคุณธรรม ความโปร่งใส อันจะนำไปสู่การป้องกันการทุจริตในภาครัฐได้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐแต่ละหน่วยงานได้รับทราบสถานะของตนเองในด้านคุณธรรม ความโปร่งใส ตลอดจนใช้ให้เกิดประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงพัฒนาตนเอง นอกจากนี้ ยังช่วยให้หน่วยงานในระดับกระทรวง ระดับจังหวัด หรือหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติราชการ สามารถนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการบริหารงานภาครัฐภายใต้การกำกับดูแลได้ โดยที่ผ่านมาการประเมิน ITA ก็ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงให้เห็นได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม การประเมิน ITA นี้มีความสำคัญระดับนโยบาย กำหนดเป็นเป้าหมายตามแผนงานระดับประเทศ โดยแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561 - 2580) ได้กำหนดให้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของแผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยในระยะที่ 2 ได้กำหดให้ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 หน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐผ่านเกณฑ์ (85 คะแนนขึ้นไป) จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 การประเมิน ITA ถือเป็นเครื่องมือที่หน่วยงานภาครัฐได้สำรวจและประเมินตนเองเพื่อให้ได้รับทราบข้อมูล อันส่งผลให้เกิดความตระหนักและปรับปรุงการบริหารงานและการกำกับดูแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ ต่อประชาชน และให้ความสำคัญกับด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กรตนเองมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การประเมิน ITA ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของหน่วยงานภาครัฐในทางปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตื่นตัวและหันมาให้ความสนใจต่อการพัฒนาแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองให้ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น ที่สำคัญคือส่งผลให้หน่วยงานมีการจัดการข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบระเบียบและเตรียมความพร้อมในการเปิดเผย ข้อมูลต่อสาธารณะให้ได้รับทราบและส่งเสริมให้เกิดการตรวจสอบอีกด้วย นอกจากนี้ ในด้านของประชาชนและสังคมไทยแล้ว การประเมิน ITA ถือเป็นเครื่องมือที่ทุกคนจะได้มีส่วนร่วม ในการสะท้อนความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่พัฒนาการบริหารงานภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้รับบริการจากภาครัฐที่ดีขึ้น และยังส่งผลให้ประชาชนและสาธารณชนมีโอกาสได้มีส่วนร่วมกำกับติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ ได้มากขึ้นอีกด้วย
16 มิ.ย. 2566
DC9 ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น DIPROM Zero Tolerance
DC9 ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น DIPROM Zero Tolerance
ตามที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แนวทางการพัฒนาที่ 1 เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการป้องกันและต่อต้านการทุจริต สร้างจิตสำนึก ปรับฐานความคิด ปลูกฝังความซื่่อสัตย์สุจริต กำหนดให้จัดทำประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและต่อต้านการทุจริต DIPROM Zero Tolerance ประกอบกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อแสดงเจตนารมณ์มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาการทุจริตอย่างต่อเนื่องและปลุกกระแสสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ภายใต้แนวคิด "Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต" เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเฝ้าระวังและสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้นในสังคม และสร้างจิตสำนักและค่านิยมให้ละอายต่อการทุจริต นั้น ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 หรือ DIPROM Center 9 ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สร้างความโปร่งใสภายในหน่วยงาน สร้างค่านิยมในการปฏิบัติหน้าที่ และพึงปฏิบัติให้เป็นวัฒนธรรมสุจริตของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สร้างค่านิยมการต่อต้านการทุจริตและจิตสำนึกอันดีงามในด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้กับเจ้าหน้าที่จึงได้ประชาสัมพันธ์ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่องเจตนารมณ์การป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น DIPROM Zero Tolerance ผ่านช่องทางบอร์ดประชาสัมพันธ์และเว็บไซต์ของหน่วยงาน
12 มิ.ย. 2566
DIPROM Center 9 เข้าร่วมศึกษา e-Learning เกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์
DIPROM Center 9 เข้าร่วมศึกษา e-Learning เกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์
นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 หรือ DIPROM Center 9 (DC9) มอบหมายให้ตัวแทนเจ้าหน้าที่ DC9 จากกลุ่มงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรม จริยธรรมฯ เข้าร่วมศึกษาบทเรียน e-Learning ในกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ซึ่งจัดทำโดยสำนักพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาล สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้สนใจเข้ามาศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ การกระทำที่มีลักษณะขัดกันแห่งผลประโยชน์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ กรณีศึกษาและแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สามารถแยกแยะการขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่เป็นการขัดแห่งผลประโยชน์อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการทุจริต ในการนี้มีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรมระหว่างวันที่ 28 - 31 มีนาคม 2566 จำนวน 6 ท่าน พร้อมทดสอบความรู้ความเข้าใจและรับวุฒิบัตร (E-Certificate) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ DC9 ได้มีความรู้ความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
31 มี.ค. 2566
DIPROM Center9 ประชาสัมพันธ์นโยบาย No Gift Policy
DIPROM Center9 ประชาสัมพันธ์นโยบาย No Gift Policy
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ เวลา 14.00 น. คณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 หรือ DIPROM Center9 (DC9) ดำเนินการจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับบุคคลภายนอกเกี่ยวกับนโยบาย "การไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)" โดยประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้ 1. บอร์ดประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน 2. ลิฟต์โดยสารภายในอาคารอำนวยการ ศภ.9 กสอ. 3. เว็บไซต์หน่วยงาน https://ipc9.dip.go.th/th/news/category/2023-02-23-11-34-34
28 ก.พ. 2566
DIPROM Center9 รับมอบนโยบาย No Gift Policy ร่วมสร้างจิตสำนึกบุคลากรในองค์กร
DIPROM Center9 รับมอบนโยบาย No Gift Policy ร่วมสร้างจิตสำนึกบุคลากรในองค์กร
จังหวัดชลบุรี 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.00 น. นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 หรือ DIPROM Center 9 เป็นประธานในการประชุมประจำเดือนกุมภาพันธ์ของ DIPROM Center 9 และประกาศรับมอบนโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร่วมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ DIPROM Center 9 ณ ห้องประชุม1 ชั้น7 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 หรือ DIPROM Center 9 นโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ เป็นการสร้างจิตสำนึก ค่านิยม วัฒนธรรมตามหลักธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ให้กับข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ให้มีทัศนคติในการปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ ความถูกต้อง ไม่หวังสิ่งตอบแทน ทั้งจากการปฏิบัติหน้าที่ และการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ที่จะส่งผลให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยงดรับ - ให้ ของขวัญและของกำนัลทุกชนิดในโอกาสต่าง ๆ และให้เจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดทุกกอง เผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ No Gift Policy ตามจุดติดต่อรับบริการของหน่วยงานเพื่อให้ผู้รับบริการ ตลอดจนบุคคลภายนอกได้ทราบถึงนโยบาย ที่แสดงออกถึงเจตนารมณ์และความตั้งใจ ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส มีทัศนคติในการปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ ไม่หวังสิ่งตอบแทน และยึดหลักธรรมาภิบาล ประกาศนโยบายการไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กสอ. คู่มือการประกาศนโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ท. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2544 ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ. 2563
27 ก.พ. 2566